วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

หน่วยฐาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยฐาน
น่วยฐานเอสไอ (อังกฤษSI base unit) เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน โดยหน่วย เอสไออื่นๆที่เรียกว่าหน่วยอนุพันธ์เอสไอ จะเกิดจากการนำหน่วยฐานเอสไอมาประกอบกันทั้งหมด หน่วยฐานเอสไอมีทั้งหมด 7 หน่วยได้แก่

หน่วยอนุพันธ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยอนุพัทธ์
หน่วยอนุพันธ์เอสไอ (อังกฤษSI derived Units) คือหน่วยที่เกิดจากการรวมกันของหน่วยฐานเอสไอโดยการคูณหรือหาร เพื่อใช้ในเรื่องการวัดและการแสดงปริมาณต่างๆ ซึ่งหน่วยอนุพันธ์สามารถมีได้มากมายไม่จำกัด เนื่องการปริมาณต่างๆในโลกนี้ที่คนเราอยากรู้ก็ไม่สามารถจำกัดได้ เพียงแต่เลือกหน่วยพื้นฐานมาประกอบเข้าด้วยกันให้ถูกต้อง อ่านต่อ

เลขนัยสำคัญ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เลขนัยสำคัญ


เลขนัยสำคัญ (significant figure) คือ จำนวนหลักของตัวเลขที่แสดงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัดหรือคำนวณได้ ดังนั้นตัวเลขนัยสำคัญจึงประกอบด้วยตัวเลขทุกตัวที่แสดงความแน่นอน (certainty) รวมกับตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่แสดงความไม่แน่นอน (uncertainty) ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้ด้วย อ่านต่อ

ปริมาณต่างๆของการเคลื่อนที่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปริมาณต่างๆของการเคลื่อนที่
ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรง
ตำแหน่ง (position) คือ จุดที่บอกให้ทราบว่าวัตถุหรือสิ่งของ อยู่ทีใดเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง

ระยะทาง (distance) คือ ความยาวที่วัดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจากตำแหน่งเริ่มต้น ถึงตำแหน่งสุดท้าย จัดเป็นปริมาณสเกลลาร์ มีหน่วยเป็นเมตร
การกระจัด (displacement) คือ ระยะที่วัดเป็นเส้นตรงจากจุดตั้งต้นของการเคลื่อนที่ ตรงไปยังตำแหน่งสุดท้ายที่วัตถุอยู่ในขณะนั้น โดยไม่สนใจว่าวัตถุจะมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นอย่างไร จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร  
อ่านต่อ

อัตราเร็วและความเร็ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อัตราเร็วและความเร็ว
ตราเร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t
อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว
ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ อัตราเร็วคือ
หน่วยของอัตราเร็ว ได้แก่ อ่านต่อ

ความเร่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความเร่ง
 คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที²

เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนดโดยสมการนี้
เมื่อ
a คือ เวกเตอร์ความเร่ง
v คือ เวกเตอร์ความเร็ว ในหน่วย m/s
t คือ เวลา ในหน่วยวินาที
จากสมการนี้ a จะมีหน่วยเป็น m/s² (อ่านว่า "เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง")
หรือเขียนเป็นอีกสมการได้
เมื่อ
 คือ ความเร่งเฉลี่ย (m/s²)
 คือ ความเร็วต้น (m/s)
 คือ ความเร็วปลาย (m/s)
 คือ ช่วงเวลา (s)  อ่านต่อ

แรง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แรง
แรง ในทางฟิสิกส์คือการกระทำจากภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพ โดยแรงเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน เช่น คนที่จูงสุนัขอยู่ด้วยเชือกล่าม ก็จะได้รับแรงจากเชือกที่มือ ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงไปข้างหน้า ถ้าแรงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ตามกฎข้อที่สองของนิวตันคือ เกิดความเร่ง ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ก็อาจก่อใ  อ่านต่อ

กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน
นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ ชาวอังกฤษเป็นผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ นิวตันเกิดที่วูลส์ธอร์พแมน เนอร์ลิงคอนเชียร์ อังกฤษ[1] ในปี ค.ศ. 2019 หนังสือชื่อ PhilosophiæNaturalis Principia Mathematica (เรียกกันโดยทั่วไปว่า Principiareble) [2] เป็นรากฐานกฎกติกาพื้นฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้แรงที่กระทำ (กฎว่าด้วยการเคลื่อนที่3 ข้อของนิวตัน) และทฤษฎีความโน้มถ่วงที่อธิบายว่าแรงซึ่งดึงดูดให้ผลแอปเปิลจากต้นตกสู่พื้น เป็นแรงชนิดเดียวกับที่ควบคุมการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์[3] นิวตันได้ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุและได้เสนอกฎการเคลื่อนที่สามข้อ กฎการเคลื่อนที่ทั้งสามข้อได้นำเสนออยู่ในหนังสือ Principia[4] กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน (Newton’s laws of motion) สำหรับวัตถุ เป็นกฎกายภาพ (physical laws) ซึ่งเป็นกฎที่เกี่ยวกับ  อ่านต่อ


กฎข้อที่ 2 กฎแห่งความเร่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กฎข้อที่ 2 กฎแห่งความเร่ง
นตอนที่แล้วเรื่องกฎข้อที่ 1 กฎแห่งความเฉื่อย  แรงสมดุลกันไม่มีความเร่ง พอมาตอนนี้เราจะเล่าให้ฟังถึงกรณีที่แรงไม่สมดุล แรงรวมไม่เท่ากับ 0 นิวตัน ตัวอย่างเช่น การเตาะลูกบอล แรงรวมที่ให้ลูกบอลมีค่ามากกว่า 0 นิวตัน เป็นการให้แรงที่ทำให้ลูกบอลมีความเร่ง ความสำพันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดกฎแห่งความเร่งมี 2 หัวข้อดังนี อ่านต่อ

แรงโน้มถ่วง

ความโน้มถ่วง (อังกฤษgravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน อ่านต่อผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แรงโน้มถ่วง